วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1.ประเด็นที่น่าสนใ

              จากการที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมา ทุกๆประเด็นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดมีดังต่อไปนี้
              1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่  เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน รวมทั้งทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม และปรับปรุงการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
              2. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม  แต่เดิมนั้น รัฐหรือฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป การตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นไปได้ยาก และมีการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบข้าราชการประจำ เช่น การแต่งตั้งโยคย้าย เลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงพยายามลดการแทรกแซงข้าราชการลง และให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีเป็นไปได้ง่ายขึ้น
              3. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม  โดยการเพิ่มหมวด คุณธรรม จริยธรรมขึ้น ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดคุณธรรม จริยธรรม จะถือว่าเป็นความผิด ซึ่งหากเป็นข้าราชการก็จะเป็นความผิดทางวินัย หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ การกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
               4. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบให้มีความเข้มแข็ง ไม่ถูกแทรกแซง และมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น อาทิ ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบเพื่อให้มีความอิสระ และเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กร การจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น


2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

·                    หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
              ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
·                    มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

·                   มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน


3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
               1. รัฐสภา  เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
               2. สภาผู้แทนราษฎร   เช่น  สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน  ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร  บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง  คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
              3. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา  เช่น  บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
              4.วุฒิสภา  เช่น  วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน   คุณสมบัติใดบ้างที่สามรถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
              5. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ  เช่น  บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ  ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ


4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

            เราต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพราะรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบใดก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขต จัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือในการกำกับแนวปฏิบัติของรัฐ ผู้ปกครองและประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง


5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ  เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน  ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

              ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นความประสงค์ของนักการเมืองที่จะแก้การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้อง ซึ่งรับไม่ได้ในทางกฎหมาย หากยอมให้คนทำผิดแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด ระบบกฎหมายของประเทศจะถูกท้าทายและพังทลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนบางกลุ่มออกมาประท้วง


6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3  อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน  และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา   สภาผู้แทนราษฎร  สภานิติบัญญัติมีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่อย่างไร   มีความมั่นคงที่จะความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่  ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

              ราชการบ้านเมืองทุกวันนี้ ดำเนินไปในลักษณะที่เป็นงานประจำ และฝากไว้กับระบบข้าราชการเป็นสำคัญ ส่วนงานอำนวยการหรืองานรัฐบาลนั้นก็อยู่ในสภาพที่ชะงักงันเพราะสภาผู้แทนที่ต้องรับผิดชอบกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง และกลุ่มข้าราชการประจำที่มีอำนาจทางการเมืองกลับไม่ต้องรับผิดชอบสภาพปัญหาต่าง ๆและในเวลานี้ความคิดความเข้าใจในหลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตยกำลังเสื่อมคลายและถูกทำลายไปตามปัญหาเฉพาะหน้าและความต้องการเฉพาะกลุ่มอยู่ทุกขณะ ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่ทบทวนยึดมั่นไว้ให้ถูกต้องแล้ว ความเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยก็จะสามารถได้รับชัยชนะยึดครองทั้งระบบรัฐบาล และระบบความคิดไปได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด 

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1



ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่
 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

1.     รัฐธรรมนูญ  หมายถึง กฏหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)
ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ
กฏหมายรัฐธรรมนูญเพราะ "กฏหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่า และจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
     อ้างอิง  รัฐธรรมนูญ (ออนไลน์) สืบค้นจาก ://CONSTITUTION-NEW.BLOGSPOT.COM/2008/12/BLOG-POST.HTML [9 พฤศจิกายน 2555].

2.      กฎหมาย 
                     หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
อ้างอิง ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2552).นิยามของคำว่ากฎหมาย. (ออนไลน์)สืบค้นจาก HTTP://WWW.TRUEPLOOKPANYA.COM/TRUE/KNOWLEDGE_DETAIL.PHP?MUL_CONTENT_ID=2158 [6 พฤศจิกายน 2555]. 

3.      กฎหมายตามเนื้อความ
            กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้ คือ “ กฎหมายตามเนื้อความ” ได้แก่ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ

                     HTTP://CLASSROOM.HU.AC.TH/COURSEWARE/LAW2/HEAD.HTML ( 8 พฤศจิกายน 2555) 

4.      มาตรา หมายถึง บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับมาตรา   
      อ้างอิง พจนานุกรม แปลภาษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก


5.      บรรทัดฐาน
                     ค่านิยมที่ยึดถือต่อกันมา
     อ้างอิง ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2552).นิยามของคำว่ากฎหมาย. (ออนไลน์)สืบค้นจาก  

6.     ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น และขั้นตอนของการศึกษา ประเภทของการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอน
ระบบการศึกษา (ออนไลน์)
 สืบค้นจาก HTTP://WWW.MOE.GO.TH/HP-VICHAI/EX-PRB05-3.HTM  [10 พฤศจิกายน 2555].

7.     การศึกษาภาคบังคับ
                     เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์  ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ
               การจัดการศึกษาลักษณะต่างๆ (ออนไลน์)  

8.       การศึกษาพิเศษ เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่บุคคลที่มีลักษณะพิเศษ หรือมีความบกพร่องทางร่างกาย เช่น บกพร่องทางการเห็น การพูด การได้ยิน มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือมีความผิดปกติทางจิตใจ
การจัดการศึกษาลักษณะต่างๆ (ออนไลน์)  สืบค้นจาก HTTP://GURU.SANOOK.COM/SEARCH/KNOWLEDGE_SEARCH.PHP?Q=%A1%D2%C3%A8%D1%B4%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2%C5%D1%A1%C9%B3%D0%B5%E8%D2%A7+%E6&SELECT=1 [10 พฤศจิกายน 2555].

9.     ดุลพินิจ  หมายถึง  
                             คำว่า ดุลพินิจ (อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด) ประกอบด้วยคำว่า ดุล  กับคำว่า พินิจ.  ดุล  แปลว่า เท่ากันเสมอกันเท่าเทียมกัน.  พินิจ แปลว่า การพิจารณา.  ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควรการพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม.คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน เช่นผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ  แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม.  เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ  
      อ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน  (ออนไลน์) สืบค้นจาก HTTP://WWW.ROYIN.GO.TH/TH/KNOWLEDGE/DETAIL.PHP?ID=3892   [9 พฤศจิกายน 2555]. 

10.        กฤษฎีกา 
       คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
   อ้างอิง บทความกฏหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก   HTTP://WWW.THETHAILAW.COM/LAW21/LAW21.HTML 
 [9 พฤศจิกายน 2555].




วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัว



          สวัสดีครับทุกคน แนะนำตัวกันก่อนน่ะครับ ชื่อซูลฮัลมีครับ 
อุปนิสัย  : เป็นคนง่ายๆ ไม่ชอบอะไรที่มีพิธีรีตองมาก เป็นคนรักความยุติธรรม และเป็นคนเกรงกลัวบาปครับ พื้นฐานเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี  ไม่ค่อยจะโกรธใคร ตลก(มั้ง) ชอบหัวเราะ(อาจจะเสียงดังหน่อยครับ อิอิ) 
สีที่ชอบ  :  สีฟ้า สีเหลือง
อาหารที่ชอบ : ปกติจะชอบเกือบทุกอย่างครับ ขอให้เป็นอาหารที่ไม่พิสดารทานได้หมดทุกอย่างอ่ะ
งานอดิเรก : อ่านหนังสือนวนิยาย เล่นอินเทอร์เน็ต  แล้วก็อีกหลายอย่างครับ
สถานที่ท่องเที่ยว : ชอบเที่ยวภูเขา และที่ไหนก็ได้ที่มีต้นไม้เยอะๆทั้งไม้ดอกไม้กินได้ชอบหมด ชอบสถานที่ที่ยังมีความเป็นธรรมชาติเที่ยวได้ทั้งแบบสบายๆและนอนกลางดินกินกลางทรายครับ
สัตว์ที่ชอบ    : ม้า สิงโต แมว
ภาพยนต์    : แฟนตาซี
คติสอนใจ :  ไม่มีใครล้มตัวเราได้ ถ้าเราไม่ล้มตัวเราเอง
          สิ่งที่เล่ามาทั้งหมดอาจจะยังไม่ได้แสดงถึงความเป็นตัวตนทั้งหมด แต่ก็เป็นส่วนหนี่งที่พอจะบอกให้เห็นถึงความเป็นตัวตนได้บ้างนะครับ ถ้าอยากทราบเรื่องอะไรที่ยังไม่ได้เขียนเล่าให้ฟังก็สอบถามเข้ามาได้ครับ ยินดีจะตอบทุกท่านเลย เหอ ๆ...