รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1.ประเด็นที่น่าสนใจ
จากการที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมา
ทุกๆประเด็นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ
บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดมีดังต่อไปนี้
1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม
ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพ
และมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน
รวมทั้งทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม
และปรับปรุงการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ
และการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม แต่เดิมนั้น รัฐหรือฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป
การตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นไปได้ยาก
และมีการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบข้าราชการประจำ เช่น การแต่งตั้งโยคย้าย
เลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงพยายามลดการแทรกแซงข้าราชการลง
และให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีเป็นไปได้ง่ายขึ้น
3. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส
มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยการเพิ่มหมวด “คุณธรรม
จริยธรรม” ขึ้น ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ซึ่งมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดคุณธรรม จริยธรรม
จะถือว่าเป็นความผิด ซึ่งหากเป็นข้าราชการก็จะเป็นความผิดทางวินัย
หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ
ซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
4. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง
และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบให้มีความเข้มแข็ง
ไม่ถูกแทรกแซง และมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น อาทิ
ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบเพื่อให้มีความอิสระ
และเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กร
การจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
· หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
· มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง
จัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค
หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ
เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
·
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง
1. รัฐสภา เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
2. สภาผู้แทนราษฎร เช่น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
2. สภาผู้แทนราษฎร เช่น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
3. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา เช่น
บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
4.วุฒิสภา เช่น
วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน คุณสมบัติใดบ้างที่สามรถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
5. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ
เช่น บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ
ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เราต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพราะรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบใดก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขต จัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือในการกำกับแนวปฏิบัติของรัฐ ผู้ปกครองและประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน
ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นความประสงค์ของนักการเมืองที่จะแก้การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้อง
ซึ่งรับไม่ได้ในทางกฎหมาย หากยอมให้คนทำผิดแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด
ระบบกฎหมายของประเทศจะถูกท้าทายและพังทลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนบางกลุ่มออกมาประท้วง
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน
และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร
สภานิติบัญญัติมีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่อย่างไร
มีความมั่นคงที่จะความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่
ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ราชการบ้านเมืองทุกวันนี้ ดำเนินไปในลักษณะที่เป็นงานประจำ
และฝากไว้กับระบบข้าราชการเป็นสำคัญ
ส่วนงานอำนวยการหรืองานรัฐบาลนั้นก็อยู่ในสภาพที่ชะงักงันเพราะสภาผู้แทนที่ต้องรับผิดชอบกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง
และกลุ่มข้าราชการประจำที่มีอำนาจทางการเมืองกลับไม่ต้องรับผิดชอบสภาพปัญหาต่าง
ๆและในเวลานี้ความคิดความเข้าใจในหลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตยกำลังเสื่อมคลายและถูกทำลายไปตามปัญหาเฉพาะหน้าและความต้องการเฉพาะกลุ่มอยู่ทุกขณะ
ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่ทบทวนยึดมั่นไว้ให้ถูกต้องแล้ว
ความเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยก็จะสามารถได้รับชัยชนะยึดครองทั้งระบบรัฐบาล
และระบบความคิดไปได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น